Health tendency of health care worker: A case study one hospital in Rayong

ชลฤดี  สดศรี  เกสร วงศ์สุริยศักดิ์  กุลนรี  บุรีรัมย์ 

กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม รพ.ระยอง

 

บทนำ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มภาวะสุขภาพของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลระยอง ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีในปี 2557-2559

วิธีการศึกษา

     เป็นการศึกษาย้อนหลัง โดยศึกษาผลการตรวจสุขภาพประจำปีของเจ้าหน้าที่ที่มีอายุตั้งแต่  35  ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการตรวจครบ 3 ปี ในปี 2557–2559 จํานวน 654 ราย รวบรวมข้อมูลในเดือนธันวาคม 2559 ถึงมกราคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษา

     พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 86.2 อายุเฉลี่ย 46.55 ปี ผลการตรวจสุขภาพในช่วง 3 ปี พบว่า ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วนมีแนวโน้มลดลงคือ ร้อยละ 33.8,33.2 และ 32.4  สอดคล้องกับเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์เกินมาตรฐานที่มีแนวโน้มลดลงคือ ร้อยละ 51.2, 45.6 และ 44.8 ระดับไขมันคลอเรสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ สูงกว่าปกติ มีแนวโน้มลดลง ร้อยละ 4.3,4.3 และ 1.5 การทำงานของไตส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติและกลุ่มผิดปกติมีแนวโน้มลดลง ร้อยละ 0.3 , 0.2 และ 0.0 กรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ มีแนวโน้มลดลง คือ ร้อยละ 6.9,7.2,5.2 ภาวะโลหิตจางแนวโน้มลดลง ร้อยละ 7.2 ,6.7 และ 6.9 ส่วนระดับน้ำตาลในเลือดสูงมีระดับใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ  4.3, 4.4 และ 4.3 การทำงานของตับกลุ่มสูงกว่าปกติ        มีแนวโน้มลดลง ร้อยละ 2.6,3.5,2.8 และพบว่าความดันโลหิต ตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอทขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.2,11.5 และ 16.4 ตามลำดับ เมื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพพบว่าการสูบบุหรี่ยังคงเดิมคือ ร้อยละ 2.8, 3.1 และ 2.9 ส่วนการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทุกสัปดาห์ มีแนวโน้มลดลง ร้อยละ 4.1, 3.8 และ 3.2 และมีแนวโน้มไม่ออกกำลังกายเลยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.6, 22.9 และ 27.4 แต่แนวโน้มเจ้าหน้าที่ที่ออกกำลังกายทุกวันเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.8, 1.7 และ 3.4 ตามลำดับ

สรุปและวิจารณ์

     แนวโน้มสุขภาพโดยรวมดีขึ้น แต่ยังพบกลุ่มที่มีค่าความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Stroke และพบแนวโน้มไม่ออกกำลังกายเลยเพิ่มขึ้น แต่แนวโน้มคนที่ออกกำลังกายทุกวันเพิ่มขึ้น จึงควรให้ความสําคัญที่การป้องกันในระดับปฐมภูมิ ได้แก่ การออกกําลังกาย โภชนาการที่เหมาะสม ลดปัจจัยเสี่ยง เช่น บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสนับสนุนให้ผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นต้นแบบ

ข้อเสนอแนะ

     ควรกำหนดนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพและสื่อสารให้ทุกหน่วยงานรับทราบและนำสู่การปฏิบัติรวมทั้งมีการประเมินผลแนวโน้มสุขภาพและ   คืนข้อมูลแก่หน่วยงานและผู้บริหารทุกปี

 คำสำคัญ

     ภาวะสุขภาพ  บุคลากรสาธารณสุข  โรงพยาบาล